ค้นหา

Custom Search
Home » , , , , , » สาเหตุ ที่คิดว่าจะทำให้เกิดข้อผิดพลาด ในระหว่างการใช้งานระบบไฮดรอลิค มีอะไรบ้าง?

สาเหตุ ที่คิดว่าจะทำให้เกิดข้อผิดพลาด ในระหว่างการใช้งานระบบไฮดรอลิค มีอะไรบ้าง?

national fluid power association / pneumatic power / pneumatic power source / pneumatic power supply / pneumatic power transmission / pneumatic system working / pneumatically powered / pneumotics / power pneumatics / powers pneumatic controls / powers pneumatic valves / what is pneumatic power / working of pneumatic system /


1. การเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค มีเพียงสองเหตุผลเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิค คือ การเสียสภาพของน้ำมันพื้นฐาน และการที่สารเพิ่มคุณภาพหมดไปจากน้ำมันหล่อลื่น เพราะว่ามีตัวแปรมากมายที่จะเป็นตัวชี้อัตราการเสื่อมของน้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคตามระยะเวลาโดยไม่มีข้อมูลอ้างอิงถึงสภาพของน้ำมันก็เหมือนกับการเดาสุ่มนั่นเอง เมื่อน้ำมันไฮดรอลิคมีราคาสูงขึ้น การถ่ายน้ำมันทิ้งน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะทำ โดยเฉพาะถังน้ำมันขนาดใหญ่มีน้ำมันปริมาณมาก แต่ในทางกลับกันถ้าน้ำมันหมดสภาพแล้ว หรือไม่มีสารเพิ่มคุณภาพเหลืออยู่ในน้ำมัน แล้ว เรายังทนใช้งานต่อไป ก็จะเป็นอันตรายกับระบบไฮดรอลิคโดยรวมเช่นกัน
ดังนั้นการเปลี่ยนน้ำมันตามชั่วโมงการทำงานจึงไม่ใช่สิ่งที่ดี เว้นแต่ว่ามีปริมาณน้ำมันน้อย ๆ วิธีที่ดีที่สุดเห็นจะเป็นการส่งตัวอย่างน้ำมันเข้าทำการวิเคราะห์ในห้องทดลอง
อีกอย่างหนึ่ง การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกต่าง ๆ และน้ำที่เข้าไปปะปนในน้ำมัน ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องเปลี่ยนน้ำมัน เพราะการปนเปื้อนของทั้งสองอย่างนี้แก้ไขได้ด้วยวิธีการกรองด้วยเครื่องกรองแบบ ออฟไลน์ (Off line filtration)
ดังนั้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่ 1 จึงไม่ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันโดยยึดชั่วโมงการทำงานเป็นเกณฑ์ แต่เปลี่ยนเมื่อน้ำมันพื้นฐานเสื่อมสภาพ หรือสารเพิ่มคุณภาพถูกใช้หมด ซึ่งจะรู้ได้จากการส่งน้ำมันไปวิเคราะห์เป็นช่วง ๆ


2. เปลี่ยนไส้กรอง คล้าย ๆ กับการเปลี่ยนน้ำมัน เราไม่ควรยึดชั่วโมงการทำงานเป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนไส้กรอง เพราะอาจเป็นการเปลี่ยนที่เร็วเกินไป ก่อนที่ไส้กรองจะตัน หรือเปลี่ยนช้าเกินไปหลังจากที่วาล์วบายพาสในกรองเปิดแล้วก็ได้ ทำให้น้ำมันในระบบสกปรกขึ้นและอุปกรณ์ไฮดรอลิคสึกหรอไปอย่างเงียบ ๆ
ดังนั้นควรเปลี่ยนไส้กรองเมื่อเห็นว่าไส้กรองได้เก็บสิ่งสกปรกจนเกือบเต็มแล้ว และวาล์วบายพาสยังไม่เปิด โดยยึดความดันแตกต่างก่อนเข้าและหลังเข้าไส้กรอง จึงควรดูที่เกจวัดความดันเป็นหลัก

3. เครื่องจักรทำงานร้อนเกินไป คงไม่มีใครจะขับรถที่เครื่องยนต์มีความร้อนสูงเกินไปต่อไปได้ แต่สำหรับในระบบไฮดรอลิคแม้เครื่องจะร้อนแต่ก็ยังสามารถทำงานได้ เครื่องจักรไฮดรอลิคก็เหมือนเครื่องจักรอื่น ๆ หากร้อนเกินไปก็จะทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ซีล สายยาง และน้ำมันไฮดรอลิคเองเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว
เท่าไหร่จึงเรียกว่าร้อนเกินไป ? อันนี้ขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมัน และดัชนีความหนืด (หรือการเปลี่ยนแปลงของความหนืดตามอุณหภูมิ) รวมถึงประเภทของอุปกรณ์ไฮดรอลิคต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในเครื่องจักร เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความหนืดจะลดลง เมื่ออุณหภูมิสูงถึงขั้นที่ทำให้ความหนืดของน้ำมันไฮดรอลิคลดลงจนต่ำกว่าระดับที่จะให้การหล่อลื่นที่ดี ก็จะยิ่งส่งผลให้เครื่องจักรร้อนเกินไป
ปั๊มแบบเวน (Vane pump) ต้องการควาหนืดต่ำสุดสูงกว่าปั๊มแบบลูกสูบ นี่ก็เป็นตัวอย่างว่าทำไมชนิดของอุปกรณ์ไฮดรอลิคสัมพันธ์กับอุณหภูมิการทำงานสูงสุดของเครื่องจักรอย่างไร
ถ้าระบบไฮดรอลิคใช้ปั๊มแบบเวน (Vane pump) ความหนืดน้อยที่สุดที่ต้องรักษาไว้คือ 25 cSt. สำหรับน้ำมันแร่ที่มีดัชนีความหนืด = 100 เทียบเท่าอุณหภูมิใช้งานสูงสุด 35 C เมื่อใช้น้ำมัน ISO VG22 หรืออุณหภูมิใช้งานสูงสุด 65 C เมื่อใช้น้ำมัน ISO VG68 นอกเหนือจากเรื่องคุณสมบัติในการหล่อลื่น แล้ว เหตุผลที่ไม่ควรให้อุณหภูมิสูงเกินไป คือถ้าอุณหภูมิเกิน 82 C แล้วซีล, สายยาง และน้ำมันจะเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว

4. ใช้น้ำมันผิดประเภท น้ำมันคือส่วนสำคัญที่สุดในระบบไฮดรอลิค เพราะน้ำมันไม่ได้เป็นแค่สารหล่อลื่น แต่เป็นตัวที่ทำหน้าที่ส่งถ่ายพลังงานด้วย และด้วยหน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ทำให้ความหนืดของน้ำมันเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด เพราะมันมีผลต่อประสิทธิภาพของเครื่องจักร และอายุการใช้งานของเครื่องจักรโดยตรง ถ้าย้อนกลับไปที่ ข้อ 3 การเดินเครื่องในขณะที่อุณหภูมิสูง ความหนืดของน้ำมันเป็นตัวหลักที่จะบอกว่าควรจะเดินเครื่องจักรได้ที่อุณหภูมิสูงสุดเท่าไหร่ที่อุปกรณ์ไฮดรอลิคยังทำงานได้อย่างปลอดภัย
หากใช้น้ำมันความหนืดสูงเกินไปเมื่อเทียบกับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมของเครื่องจักร จะทำให้การไหลหรือการหล่อลื่นมีปัญหาเมื่อเริ่มเดินเครื่องในขณะที่เครื่องจักรเย็น ในทางกลับกันถ้าใช้น้ำมันที่มีความหนืดน้อย น้ำมันก็จะไม่สามารถรักษาความหนืดน้อยสุดที่เครื่องจักรต้องการได้เมื่อเครื่องจักรทำงาน
อย่างไรก็ตามช่วงของความหนืดต่ำสุด และสูงสุดของน้ำมันที่ยังให้การหล่อลื่นเพียงพอกับความต้องการของเครื่องจักร อาจเป็นช่วงอุณหภูมิที่กว้างเกินไป จึงควรมีช่วงที่แคบกว่านี้ที่จะทำให้การสูญเสียพลังงานน้อยที่สุด ตัวอย่างเช่น หากความหนืดของน้ำมันค่อนไปด้านสูง จะมีการสูญเสียพลังงานเนื่องจากแรงเสียดทานของการไหล และถ้าหากค่าความหนืดของน้ำมันค่อนไปทางด้านต่ำ จะเกิดการสูญเสียพลังงานจากแรงเสียดทาน และการรั่วไหลภายในระบบไฮดรอลิค ดังนั้นการใช้น้ำมันที่มีความหนืดไม่เหมาะกับเครื่องจักรไม่เพียงแต่จะทำให้ชิ้นส่วนมีอายุการใช้งานสั้นลง แต่ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย
วิธีเดียวที่จะทำให้รู้ได้คือให้ตรวจเช็คช่วงอุณหภูมิในการทำงานของเครื่องจักร ว่าอยู่ในช่วงที่อนุญาติหรือเปล่า และถ้าดีที่สุดควรจะอยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับชนิดของน้ำมันที่ท่านใช้อยู่ด้วย
ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดข้อที่ 4 ให้หาค่าความหนืดเป็น ISO และดัชนีความหนืด (Viscosity index) ของน้ำมันไฮดรอลิคที่ท่านใช้ แล้วกรอกข้อมูลนี้ลงในหน้าการคำนวณที่เวปไซต์ http://www.mehf.com/HFTOWcalc.htm ผลการคำนวณจะแสดงอุณหภูมิต่ำสุด และอุณหภูมิสูงสุดที่อนุญาติให้ใช้งานได้ของน้ำมันที่ท่านใช้อยู่ ย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นช่วงที่กว้างมาก ดังที่ได้กล่าวเรื่องการสูญเสียพลังงานด้านบนแล้ว ดังนั้นควรกำหนดช่วงแคบ ๆ ที่เหมาะสมที่สุดของท่านเองภายในช่วงที่ได้จากการคำนวณอีกครั้ง เพื่อให้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพดี และ อายุการใช้งานนานที่สุด

5. ติดตั้งกรองน้ำมันผิดตำแหน่ง หลายคนคิดว่าติดตั้งกรองที่ไหนก็เหมือน ๆ กัน นั่นไม่ใช่ความคิดที่ดี มีตำแหน่งการติดตั้งกรองน้ำมันอยู่สองจุดที่มักจะสร้างความเสียหายมากกว่าที่จะป้องกันความเสียหายให้กับเครื่องจักร คือ ท่อทางดูดของปั๊มไฮดรอลิค และท่อเดรนของปั๊มแบบลูกสูบ
มาถึงจุดนี้หลายท่านคงจะนั่งส่ายหน้า เพราะมันขัดแย้งกับความเชื่อเก่า ๆ อย่างมาก ที่ว่าจะต้องมีกรองติดตั้งที่ท่อทางดูดของปั๊ม
ขอให้คิดอย่างนี้ เรากำลังพูดถึงระบบไฮดรอลิค ซึ่งปั๊มดูดน้ำมันจากถังน้ำมันไฮดรอลิคที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่ได้ดูดน้ำมันจากถังเปิดที่อะไรก็ตกลงไปได้ ดังนั้นหากท่านคิดว่าเศษชิ้นใหญ่ ในระบบไฮดรอลิคเป็นเรื่องปกติ ก็คงไม่ต้องเสียเวลาไปทำการบำรุงรักษาเชิงรุกแล้ว
ถ้าท่านต้องการให้อายุการใช้งานของปั๊มนานที่สุด ต้องให้น้ำมันไหลเข้าปั๊มได้อย่างอิสระ มากกว่าที่จะป้องกันไม่ให้หัวน็อต สกรู หรือประแจ ถูกดูดเข้าไปในปั๊ม และโดยปกติท่อทางดูดของปั๊มจะสูงกว่าก้นถังประมาณ 2 นิ้ว เศษโลหะขนาดใหญ่จะไม่ถูกดูดขึ้นไป จากการวิจัยพบว่าการที่ท่อทางดูดไม่เปิดเต็มที่จะทำให้อายุการใช้งานของเกียร์ปั๊มสั้นลง 56 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์มากกว่านั้นสำหรับปั๊มแบบเวน และแบบลูกสูบ เพราะสูญญากาศที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายให้กับปั๊ม พึงระลึกไว้เสมอว่าปั๊มถูกออกแบบมาให้สร้างแรงดันมากกว่าสร้างแรงดูด

6. เชื่อว่าอุปกรณ์ไฮดรอลิคเป็นอุปกรณ์แบบ Self- priming ท่านคงไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ของท่านโดยไม่มีน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องเป็นแน่ แต่ในระบบไฮดรอลิคมีผู้ใช้งานจำนวนมากเริ่มใช้งานหลังจากเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ โดยไม่ได้ทำการหล่อลื่นไว้ก่อน หากไม่ได้ทำการหล่อลื่นที่ถูกต้องก่อนการใช้งาน ชิ้นส่วน จะสึกหรอไปมากในช่วงเริ่มต้นก่อนที่จะมีน้ำมันไหลเข้าไปหล่อลื่น แม้ว่าในช่วงแรกหลังจากเปลี่ยนชิ้นส่วนจะใช้งานได้ดี แต่อายุการใช้งานจะสั้นลงอย่างมาก ข้อผิดพลาดนี้จะป้องกันได้โดยการทำ Check list ขึ้นมา ซึ่งต้องเป็น Check list ของเครื่องจักรแต่ละประเภทด้วย

ที่มา : http://www.oilservethai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539564254&Ntype=11
fluid power / fluid power automation / fluid power hydraulics and pneumatics / fluid power journal / fluid power magazine / fluid power news / fluid power society / how do hydraulic and pneumatic systems work / how do pneumatic systems work / how do pneumatics work / how pneumatics work / industrial fluid power /

nn

Pneumatic&Hydrolic Label

5/2 Solenoid Spring Valve กฎของลม กฎของไฮดรอลิก กรองลม กรองไฮดรอลิกส์ กระบอกฉีดยา กระบอกนิวแมติกส์ กระบอกลม กระบอกหยิบชิ้นงาน กระบอกไฮดรอลิก การควบคุมลม การใช้งานนิวแมติกส์ การต่อนิวแมติกส์ การติดตั้ง การประกอบ การปรับแต่ง การผลิต กำเนิดนิวแมติกส์ แก้ไขปัญหา ข้อดีข้อเสีย ขายนิวแมติกต์ราคาถูก แขนกล แขนกลนิวแมติกส์ แขนกลไฮดรอลิก คลิปไฮดรอลิก ความดันนิวแมติกส์ ความร็อนในนิวแมติกส์ ความรู้เรื่องนิวแมติกส์ ความหมายนิวเมตกส์ ความหมายระบบไฮโดรลิกส์ คอนโทรลวาล์ว คำศัพท์เฉพาะ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ เครื่องจักร เครื่องจักรไฮดรอลิกส์ เครื่องมือ เครื่องยนต์นิวแมติก เครื่องอัดกระป๋อง เครื่องอัดลม โครงงาน งานซ่อม งานออโตเมชั่น ชุดสาธิต เช็ควาล์ว โซลินอยวาล์ว ไดอะแกรมวงจรนิวแมติกส์ ต่อSolenoid Valve ต๊าฟเกลียว ถังลม ท่อปั๊มลม ท่อลม ท่อไฮดรอลิค เทคโนโลยีนิวแมติกส์ นิวเมติก คือ อะไร นิวแมติก นิวแมติกส์ นิวแมติกส์อุตสาหกรรม นิวส์เมติก แบบจำลอง ประดิษฐ์เครื่องอัดอากาศ ประวัติความเป็นมา ปั๊มนิวแมติกส์ ปั๊มลม ปั๊มไฮดรอลิก ปืนลม โปรแกรมควบคุม โปรเจคท์นิวเมติกส์ พวงมาลัยเพาเวอร์ พื่นฐานนิวแมติกส์ เฟตโต้ เฟสโต้ มอเตอร์ไฮดรอลิก โมเดล ยี่ห้อCKD ยี่ห้อSMC รถขุด รถไถ รถแทรกเตอร์ รถแบกโฮ รถแบคโฮ รถแม็คโคร ระบบควบคุมนิวเมติก ระบบท่ออัดอากาศ ระบบนิวเมติกส์ ระบบนิวแมติกส์ ระบบฟีดเดอร์ ระบบลม ระบบวาล์ว ระบบออโตเมชั่น ระบบไฮดรอลิก ระบบไฮดรอลิค ราคาถูก ราคานิวแมติก แรงดันลม โรงงานSMC ลมดูด ล้อลม เลโก้ วงจรนิวแมติกส์ วงจรไฮดรอลิก วางระบบท่อลม วาล์ว5/2 วาล์วกันกลับ วาล์วทางเดียว วาล์วนวิแมติก วาลว์ไฮดรอลิก แวคคัม สร้างเครื่องปั๊มลม สอนนิวแมติกส์ สัญลักษณ์นิวเมติก สายรัดท่อ สำนักงานSMC สิ่งประดิษฐ์ สูตรคำนวณนิวแมติกส์ สูตรคำนวณไฮดรอลิก หน่วยวัดในระบบนิวแมติกส์ หนังสือนิวแมติกส์ หนังสือไฮดรอลิกส์ หลักการทำงาน หุ่นยนต์ แหล่งขายอุปกรณ์นิวแมติกส์ ออกแบบเครื่องจักร ออกแบบระบบนิวแมติกส์ อุปกรณ์ อุปกรณ์จับชิ้นงาน อุปกรณ์นิวแมติกส์ อุปกรณ์ไฮดรอลิก แอร์ไซรินเดอร์ ไฮดรอลิก Accumulator Actuator Air Compressor Air cylinder Air filter Air pump Air Tank Airtrax ASCO Automation Automation Systems Ball Valve Bimba Check Valve Check Valve Ball Valve Check Valves CKD Clippard Control Valve Control Valves DIY Electrohydraulics Electropnuematics feedder System Festo Filter Floating Fountains Flow Control Valves gripper Homemade Hydraulic Hydraulic Arm Hydraulic Crimpers Hydraulic Cylinders Hydraulic Devices Hydraulic DIY Hydraulic Equipment Hydraulic Filter Hydraulic Fitting Hydraulic Hose Hydraulic Jack Hydraulic Model Hydraulic Motor Hydraulic Press Hydraulic Project Hydraulic pump Hydraulic Symbols Hydraulic System Hydraulic valves Lego pneumatic Linear Actuator Manifold Manifolds Parker PLC Pneumatic Pneuma Pneumatic pneumatic actuators Pneumatic Conveyor pneumatic cylinders pneumatic engine Pneumatic Engineering Pneumatic Equipment Pneumatic machine Pneumatic Project Pneumatic pump Pneumatic Rotary Pneumatics Pneumatics Design Pneumatics System Pneumatic System Pneumatic System Animation Pneumatic Tools Pneumatic Valve Pneumatic Valves Pnuematic Pnuematics Check Valve Pnuematic System Pressure Reducing Valves Pressure Relief Valves regulator Relief Valve Robot Rodless cylinder silent compressor SMC SMC pneumatic Solenoid Solenoid Valve Solenoid Valves System Used Equipment Vacuum Equipment Valve 3/2 Valve 4/3 Valve 5/2 Valve 5/3 X-Lift
hydraulic parts store | hydraulic parts store near me | hydraulic store | hydraulic supply store | hydraulic supply store near me | industrial hydraulic | industrial hydraulic cylinders | industrial hydraulic pump | industrial hydraulic systems | industrial hydraulics | pneumatic air | pneumatic air press | pneumatic air pressure | pneumatic air systems | pneumatic aircraft | pneumatic cylinder actuator | pneumatic cylinder valve actuator | pneumatic hydraulic pump | pneumatic hydraulic pump high pressure | pneumatic power | pneumatic power generation | pneumatic power pack | pneumatic power source | pneumatic power system | pneumatic pump | pneumatic pump operation | pneumatic pumping system | pneumatic system aircraft | pneumatic system in aircraft | pneumatic valve actuator | pneumatic vs hydraulic | pneumatic vs hydraulic actuators | pneumatic vs hydraulic systems | pneumatically powered | pneumatics and hydraulics | pnuematics | powers pneumatic controls | what is a pneumatic pump | what is pneumatic pump

Pneumatic Works

hydraulic system vs pneumatic system | hydraulic vs pneumatic | hydraulic vs pneumatic cylinders | hydraulic vs pneumatic systems | numatic system | pneumatic actuator | pneumatic actuator cylinder |

Pneumatic&Hydrolic Popular Posts

Pneumatic & Hydrolic Blog Archive

Pneumatic System

nm